Home | About us | บริการถ่ายภาพ | ห้องภาพ | บทความ | เว็บบอร์ด | เช็คราคากล้อง-เลนส์ | โหราพยากรณ์ | Links  
       
 

         มือใหม่หัดจัดไฟ

          มาเริ่มการเรียนรู้วิธีการถ่ายภาพ ด้วยการจัดไฟ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้หลักในการจัดไฟสตูดิโอในระดับต่อไป อย่างแรกที่ควรเรียนรู้คือ แหล่งของแสงที่จะใช้ ในการถ่ายภาพ โดยแสงจะเดินทางผ่านเลนส์มายังฟิล์ม สมัยนี้ต้องเปลี่ยนเป็น เซ็นเซอร์รับภาพ ทำให้เกิดภาพ ปกติแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ จะเป็นแสงที่มีค่าไวด์บารานด์ ประมาณ 5500 เควิน(k) แต่อุณหภูมิสี หรือ เควิน จะเพิ่มลดตั้งแต่เช้ายันเย็นอุณหภมิสีจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน รวมทั้งแหล่งกำเนิดแสงประดิษฐ์ จะมีอุณหภมิสีที่แตกต่างกัน จึงทำให้กล้องดิจิตอลต้องมีระบบ auto WB เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามช่วงระยะเวลา แต่ช่างภาพก็ชอบตั้ง WB แบบ Daylight มากกว่า เมื่อแสงเป็นหลักในการถ่ายภาพ หากเราควบคุมทิศทางแสงได้ ก็จะได้ภาพที่ตรงใจ จึงมีการจำลองแสงขึ้นมา เพื่อการถ่ายภาพ

          แหล่งของแสงที่จะนำมาใช้ในการถ่ายภาพ จะคิดแบบง่าย ๆ จะแบ่งเป็น แบบไฟต่อเนื่อง และไฟแฟลชสตูดิโอ โดยที่แบบไฟต่อเนื่องจะนิยมใช้ในการถ่ายวีดีโอ และภาพนิ่งได้ ซึ่งคุณภาพดี ๆ ราคามันแพงมาก ส่วนแบบไฟแฟลช ก็แบ่งเป็นแบบโมโน หรือหัวเดี่ยวที่จะสามารถเก็บประจุไฟได้ในตัว ซึ่งจะมีราคาไม่แพง และแบบ พาเวอร์แพ็ค ซึ่งจะเป็นชุดถ่าย โดยใช้แหล่งพลังงานจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งแบบนี้ราคาจะสูงมาก

         เริ่มต้น ซึ่งอยากให้เริ่มต้นจากไฟต่อเนื่องซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้และใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟอ่านหนังสือ หลอดฟลูออเรสเซ็นท์ หรือจะเป็นหลอดไส้ เท่าที่หาได้ แสงไฟพวกนี้ จะบอกค่ากำลังเป็น วัตต์ (W) ยิ่งเยอะ ไฟยิ่งแรง และยิ่งร้อน ในตัวอย่างครั้งนี้ผมใช้ ไฟสปอทไลท์ หาซื้อมาจากร้านเครื่องมือการเกษตร หัวล่ะ 500w สองหัว พร้อมขาตั้ง ให้ไฟที่แรงพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพได้เลย

 

 

 

         อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพ
1. กล้องถ่ายภาพ
2. ขาตั้งกล้อง
3. ไฟต่อเนื่อง
4. หุ่นหรือสิ่งของที่จะนำมาถ่าย
5. ฉากหลัง เป็นพวกผ้า หรือกระดาษก็ได้ จากตัวอย่างเป็นผ้ากำมะหยี่ เมตรล่ะ 120 บาท

           พื้นฐานของการจัดไฟ เราจะได้ยินคำนี้บ่อย คือ แสงหลัก main light หรือจะเรียกกันอีกชื่อว่า key ต่อไปคือ แสงรอง Fill light ไว้เปิดเงาของแสงหลัก และก็ไฟเสริม พวกไฟส่องฉาก ส่องผม แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม

          เริ่มจากการจัดไฟแบบดวงเดียว
          เมื่อเซ็ทอุปกรณ์ทุกอย่างครบแล้ว ก็เริ่มถ่ายภาพกัน โดยเปิดไฟ จากตัวอย่าง ไฟอยู่ด้านขวามือ จะเห็นได้ว่า เมื่อกล้องตั้งเป็น Auto WB ภาพที่ถ่าย จะติดสีอมเหลือง(ภาพซ้าย) ซึ่งเกิดจากอุณหภมิสี จากหลอดสปอทไลท์ ให้เปลี่ยนโหมด WB เป็น tungsten หรือรูปหลอดไส้ จะได้สีที่ตรงมาขึ้น (ภาพขวา)
ข้อดีของการใช้ไฟแบบต่อเนื่อง จะทำให้โฟกัสภาพ และวัดแสงได้เลย อีกทั้งจัดทิศทางแสงได้ง่าย ข้อเสียเพียงมันร้อน เปลืองไฟ และดูไม่เป็นมืออาชีพ

s 1/8 f 8 iso 200

          ในการจัดแสงถ่าย สามารถจัดทิศทางไฟตั้งแต่ตรงหน้า แล้วค่อย ๆ ขยับไปซ้ายหรือขวา จนกว่าจะเจอที่ถูกใจ จากตัวอย่างเป็นแสงจากด้านข้าง ด้านซ้ายพอดีใกล้กำแพงสีขาว เลยเป็นรีเฟ็กสะท้อนแสงกลับมาเปิดเงาอีกที

 

          เมื่อได้มุมที่ต้องการแล้วก็มาเริ่มต้นถ่ายกัน โดยให้หุ่นนางแบบที่นู้ดมาหลายภาพแล้ว มาสวมใส่เสื้อผ้าสะที เมื่อใส่เสร็จลองถ่ายดู จะเห็นได้ว่าแสงมันแข็งมาก เกิดความเปรียบต่างเยอะมาก และดูน่ากลัว ตอนนี้ก็ถึงคราวที่ว่าทำให้แสงนุ่มลง โดยการใช้ผ้ากรองแสง หรือรีเฟ็กแบบกรองแสงมากบังแสงหลักเพื่อให้แสงเกิดการกระจายตัวมากขึ้น แต่ผลที่ได้รับคือ กำลังแสงจะลดลง ทำให้ต้องถ่ายภาพที่ความไวชัตเตอร์ต่ำลง แต่ภาพที่ได้จะดูนุ่มมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

s 1/15 f 8 iso 200 s 1/8 f 5.6 iso 200

แสงแข็ง

แสงนุ่ม

          เท่านี้ก็สามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพ โดยการเพิ่มไฟส่องลงไป จะทำให้ได้ภาพที่ตรงใจมากยิ่งขึ้น เมื่อพอเข้าใจหลักการ ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพอาหาร หรือสินค้า ก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากเกิน และงบประมาณก็ไม่สูงแต่ผลที่ออกมา บางครั้งดูดีกว่าการถ่ายด้วยชุดไฟ อย่างที่บอกนะครับว่า อะไรมันก็ดีนะครับ เพียงแต่ดูไม่โปรเท่านั้น

          ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องชุดไฟสตูดิโอ ว่าด้วยเรื่องอุปกรณ์ และการใช้งาน

 

by ชัยยงค์ โกกนุทาภรณ์


 
 

Design by TaewTong | taewtong2002@yahoo.com

 

Copyrights © 2007 www.doartdee.com | All rights reserved.