Home | About us | บริการถ่ายภาพ | ห้องภาพ | บทความ | เว็บบอร์ด | เช็คราคากล้อง-เลนส์ | โหราพยากรณ์ | Links  
       
 

พื้นฐานการถ่ายภาพ

            กล้องทุกตัว ทุกระบบ จะมีพื้นฐานการทำงานเหมือนกันหมด คือ แสงเดินทางผ่านเลนส์ เข้าไปสู่ฟิล์ม โดยภาพที่แท้จริงจะหัวกลับ และจะถูกชัตเตอร์เปิด - ปิดแสงตามที่เวลาตั้งไว้ ซึ่งช่างภาพที่ดีควรมีความรู้พื้นฐานการถ่ายภาพให้แน่น ๆ เพราะจะสามารถพัฒนาผลงาน และทำความเข้าใจเทคนิคการถ่ายภาพในขั้นต่อ ๆ ไปอีก เช่น เทคนิคการวัดแสง จนไปถึงเทคนิคการจัดไฟสตูดิโอ ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจพื้นฐานเรื่องค่าแสง
          วิธีที่จะแนะนำคือ อย่างแรก ต้องจำความไวชัตเตอร์ และค่ารูรับแสงให้ได้ก่อน มีหลักท่องจำง่าย ๆ คือ คูณสองเข้าไป แต่จะมีค่าเพี้ยนของแสงอยู่ไม่กี่ค่าคือ

ความไวชัตเตอร์
1
2
4
8
15
30
60
125
250
500
1000

          หน่วยเวลาจริง ๆ จะเป็น 1/1 s , 1/2 s ไปเรื่อย ๆ จำแค่ 1000 ก็พอ แต่ละขั้นจะเรียกเป็นสต็อป ซึ่งเป็นภาษาช่างภาพชอบเอามาคุยกัน จะได้ไม่งง ค่าตัวสีแดงจะเป็นค่าเพี้ยนของแสง ที่เป็นไปตามกฎความล้มเหลวของค่าแสง

หน้าที่ของความไวชัตเตอร์ ในการถ่ายภาพ
        จะใช้เมื่อต้องการควบคุมการเคลื่อนไหวของวัตถุเช่นในภาพ

ความไวชัตเตอร์ต่ำ ความไวชัตเตอร์สูง
1/8 s
1/60s

           ต่อมาก็ดูเรื่องรูรับแสง มีหลักในการจำค่าง่าย ๆ คล้าย ๆ กันแต่อยากให้สลับเป็นฟันปลาเพื่อเข้าใจง่ายขึ้น จะมีค่าเพี้ยนที่ F11

ค่ารูรับแสง (f.)

1
1.4
2
2.8
4
5.6
8
11
16
22

หน้าที่ของรูรับแสง
          รูรับแสงจะมีหน้าที่ควบคุมระยะชัด ของภาพ เช่นภาพตัวอย่าง

ชัดตื้น
F 2.8

 

ชัดลึก
F 8

 

ชัดลึก
F 16

          เมื่อท่อง 2 ตารางนี้ขึ้นใจแล้ว ก็เอามาวางคู่กัน จากนี้ไปคือ พื้นฐานของการวัดแสง และชดเชยแสง

ความไวชัตเตอร์ (S)
รูรับแสง (F)
1
1
2
1.4
4
2
8
2.8
15
4
30
5.6
60
8
125
11
250
16
500
22
1000

          ทำความเข้าใจกันก่อน  ระบบวัดแสงในกล้องที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ กล้องจะมองภาพเป็นสีเทาเท่านั้น ซึ่งค่าแสงมาตราฐานที่ใช้กันคือ เทากลาง 18% ดังนั้นเวลาวัดแสงจึงนิยมวัดแสงจุดที่มีค่าใกล้เคียงสีเทากลางนี้ เช่นวัดแสงจากใบไม้ เป็นต้น ค่าที่วัดแสงพอดี คือค่าที่ 0 หรืออยู่ตรงกลางเครื่องวัดแสงในตัวกล้องนะครับ ผมจะยกตัวอย่าง ประกอบในตาราง
       

พื้นฐานการวัดแสง
1. การวัดแสงพอดี

ความไวชัตเตอร์ (S)
รูรับแสง (F)
1
1
2
1.4
4
2
8
2.8
15
4
30
5.6
60
8
125
11
250
16
500
22
1000

       ตัวอย่างแรก ผมวัดแสงได้ที่ 1/30s รูรับแสงที่ 5.6   (สีเหลือง) หากต้องการรูรับแสง ที่ 11 จะเท่ากับนับลงสองช่อง ค่าความไวชัตเตอร์จะสวนทางกับรูรับแสงเสมอ ดังนั้นค่าความไวชัตเตอร์ต้องขึ้นสองช่องเท่ากัน จะเป็น 1/8 s รูรับแสง 11 (สีส้ม)

        เทคนิคการจำคือ ด้านซ้ายและด้านขวา หากด้านซ้ายขึ้น ด้านขวาจะลง เท่า ๆ กันเสมอ หรือ ด้านขวาขึ้น ด้านซ้ายจะต้องลง

 

 

 

 

 

2. การชดเชยแสง

         หลายคนที่วัดแสงพอดีแล้ว เกิดสงสัยว่าทำไมภาพบางภาพมันมืดไป บางภาพก็ขาวเกิน มันเกิดจากการที่เครื่องวัดแสงในกล้องหลอกครับ เพราะกล้องมันจะพยายามวัดให้เป็นเท่ากลางอย่างเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้องมีการชดเชยแสงช่วยเพื่อให้ได้ภาพที่มีสีตรงกับความจริง เช่น สีขาว หากวัดตรง ๆ จากกล้อง สีจะไม่ขาว หรือ สีดำ มันก็ไม่ดำ หลักการชดเชยแสง หลัก ๆ ก็ขาว ๆ ดำ ๆ เนี่ยแหละครับ คือ สีขาว(ขาวจัดๆ) จะต้องชดเชย +2 สต็อบ และสีดำ จะชดเชย -2 สต็อบจากค่าแสงพอดี

ความไวชัตเตอร์ (S)
รูรับแสง (F)
1
1
2
1.4
4
2
8
2.8
15
4
30
5.6
60
8
125
11
250
16
500
22
1000

     เราสามารถเลือกชดเชยได้โดยทั้งความไวชัตเตอร์และ รูรับแสง เช่น ถ่ายพอดีที่ 1/30 s รูรับแสง 5.6 ถ่ายสีขาว เราต้องให้ค่าแสง + 2 สต็อป โดย เลื่อนลงมา2ขั้น (สีฟ้า) และในกรณีสีดำ ชดเชย -2 เท่ากับ เอฟ 11 (สีเทา)

 

 

 

 

 

 

 

การประยุกต์ใช้จริงในการถ่ายภาพ

           กล้องในปัจจุบัน จะมีระบบการถ่ายภาพแบบก้าวหน้า คือ โหมด M ,AV ,TV (S) โดยที่
โหมด M ก็หมายถึงเราต้องปรับเองหมด เหมาะสำหรับงานที่มีเวลาถ่าย และเราต้องการควบคุม 100 %
โหมด AV หมายถึงเราเรื่อง ค่ารูรับแสงเอง กล้องจะทำการหาค่าความไวชัตเตอร์ให้ เราจะใช้เมื่อเราต้องการควบคุมระยะชัดลึก
โหมด TV หรือ S หมายถึง เราเลือกค่าความไวชัตเตอร์เอง กล้องจะเลือกค่ารูรับแสงให้ จะใช้เมื่อต้องการควบคุมการเคลื่อนไหวของวัตถุ

 

by ชัยยงค์ โกกนุทาภรณ์


 
 

Design by TaewTong | taewtong2002@yahoo.com

 

Copyrights © 2007 www.doartdee.com | All rights reserved.